วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment#3


หลักการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก เพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆ ช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวิธีป้องกัน หรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้ 
1 ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
2 ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ
3 ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
4 ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย
6 สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)
7 ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้
8 ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ
เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ
9 จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ
ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน
10 จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์
จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่
แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย
* โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน
11 จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้
12 ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2P
สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้
13 กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ
ในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท์
ที่มา
www.icthousekeeper.com


เปรียบเทียบอิทธิพลของ  Social media กับ Traditional media ในยุคปัจจุบัน


Social media คือ การสื่อสารส่งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบใหม่ที่มีการสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถสื่อสารได้ 2 ทาง เช่น facebook e-mail youtube
  Traditional media คือ การสื่อสารส่งข้อมูลในรูปแบบเดิมที่ไม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ 
ในปัจจุบัน social media เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น เพราะในยุคนี้ผู้คนส่วนใหญ่ต่างมี คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตใช้กันทุกบ้าน social media มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราในทุกๆวัน เช่น  
- การตื่นเช้ามาอย่างแรกที่จะทำคือการเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อเช็ค facebook หรือข่าวสารต่างๆ
- การโฆษณาทาง social media มีอัตราการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
- หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับในประเทศไทย ให้บริการ News Content และมีเนื้อที่สำหรับการโฆษณา ออนไลน์ด้วย หรือจะอ่านหนังสือพิมพ์แบบ e-Newspaper ได้โดยผ่าน Digital Device ต่างๆ
 -โทรทัศน์ก็สามารุถเข้าไปชมรายการย้อนหลังได้จากเว็บไซต์ช่องต่างๆ เราสามารถเลือกดูรายการที่ เราพลาดชม หรือเลือกดูรายการโปรดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดตอนจบของดอกส้มสีทอง
-วิทยุก็กลายเป็นโทรทัศน์หรือเป็นเคเบิลทีวี เราสามารุฟังรายการวิทยุจากเว็บไซต์ หรือชมผ่าน โทรทัศน์ก็ได้ ในขณะเดียวกันโทรทัศน์เองก็รายงานข่าวทั้งโทรทัศน์เองด้วยและก็ออกอากาศทางวิทยุ  รวมถึงสามารถชมรายการสดๆทางอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย




Weblog มีประโยชน์อย่างไรกับแวดวงธุรกิจในปัจจุบัน







ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองสามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น
บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเองและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถกาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย

นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน, ร้านค้า, ฯลฯ


Google Apps คืออะไร 


Google Apps เป็น Solution การจัดการข้อมูลทุกชนิดสำหรับ บริษัท, องค์กร, ธุรกิจ, กลุ่ม, ชมรม ของท่าน เพื่อให้ “ข้อมูล” ต่างๆ สามารถ “เข้าถึงได้ง่าย” (Accessible) และ “คงทนถาวร” (Durability) มากที่สุด ซึ่งภายใน Google Apps นั้น ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ภายในดังนี้
  • Google Mail: จัดเก็บ รับ-ส่ง จดหมาย (E-mail) สำหรับองค์กรของท่าน สามารถใช้ Domain ของบริษัทท่านเป็น E-mail ได้ และปลอดภัยจากอีเมลล์ขยะ (Spam Filter)
  • Google Calendar: แบ่งปัน นัดหมายส่วนตัวของคนในองค์กร และใช้เป็นปฏิทินกลาง สำหรับแจ้งข้อมูลการเข้าประชุม, กำหนดการส่งของ และอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรร
  • Google Docs: แชร์เอกสารทั้ง Word, Excel และ PPT เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถ อ่านข้อมูล หรือแก้ไข ได้พร้อมๆ กัน แบบ Real-time
  • Google Sites: เว็บเพจกลางสำหรับใช้ภายในบริษัท (Intranet) เพื่อส่งข่าว หรือประกาศสำคัญๆ ต่างๆ หรือ ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้
Cloud Computing คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน




การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection
หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดีย ที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center)  โดยผู้บริโภคบริการ cloud computingเสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server)  อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)

การนำ Cloud computing มาใช้ในระบบบัญชี


รูปแบบการประมวลผลแบบ Cloud computing ได้ถูกนำมาใช้ในโปรแกรม ERP ระดับโลกหลายตัว ยกตัวอย่างการทำบัญชีอออนไลน์ผ่าน Cloud computing ซึ่งช่วยให้ระบบงานส่วนหน้าแบบ Mobile สามารถทำงานระบบใหญ่ๆโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว และสามารถฝากการประมวลผลขนาดใหญ่ไว้บน Cloud server ได้อย่างสะดวก พร้อมกับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักบัญชีซึ่งอยู่ที่แห่งไหนก็ได้ด้วยการเชื่อมต่อ ADSL ราคาประหยัด หรือผ่านเครือข่ายสาธารณะอย่าง 3G ได้โดยทันที โดยสามารถเชื่อมต่อระบบที่หลากหลายที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Desktop application, Web application และระบบ Legacy ทุกประเภท นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมระบบกับผู้ให้บริการระดับโลกทุกรายที่เปิดช่องทางการประมวลผลร่วมกันได้ด้วย เช่นการเชื่อมระบบสั่งซื้อหนังสือกับ Amazon หรือเชื่อมกับระบบ e-mail กับ gMail เป็นต้น นักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ต่อไปแกนกลางของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะอยู่บน cloud ในกรณีของ ERP ก็มีแนวโน้มที่ ERP จะอยู่ในรูปของ PaaS โดยเป็น back bone และโครงสร้างหลักขององค์กรในการดำเนินธุรกรรม โดยทำงานร่วมกับ application ส่วนอื่นๆที่เป็นแบบ industry-specific ตั้งแต่อยู่บน cloud ผู้ใช้ ERP จะสามารถเรียกใช้ search engine ได้ สามารถเอาระบบสั่งซื้อสินค้าของ Amazon มาฝังไว้ในโปรแกรม ERP ได้ นำเอา GMail มาประกอบใน ERP ได้ โดยการเชื่อมโยงกันระดับ server บน internet โดยผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งระบบใดๆที่สำนักงาน แต่อาจจะต้องติดตั้งโปรแกรม client ที่ทำการสื่อสารกับ service provider หรืออาจจะทำงานผ่าน web browser ทั้งระบบเลยก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น